ชนะ คณะ มนะ
ชนะ คณะ มนะ

ชนะ คณะ มนะ

"ชนะ คณะ มนะ" (เบงกอล: জন গণ মন, Jôno Gôno Mono; แปลว่า "จิตใจแห่งปวงชน") เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอินเดีย บทเพลงนี้เขียนขึ้นด้วยภาษาเบงกอลสันสกฤตและประพันธ์ทำนองโดยรพินทรนาถ ฐากุร นักเขียนรางวัลโนเบลชาวเบงกอล โดยบทที่นำมาใช้เป็นเพลงชาตินี้นำมาจากบทแรกของเพลงเดิมซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญแบบพฺราหฺมะ (ব্রাহ্ম, Brahmo) ของแคว้นเบงกอล มีเนื้อหาทั้งหมด 5 บท เพลงดังกล่าวได้มีการขับร้องอย่างเป็นทางการครั้งแรกในที่ประชุมคองเกรสแห่งชาติของอินเดีย (Indian National Congress) ที่เมืองกัลกัตตา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1911 ภายหลังเพลง "ชนะ คณะ มนะ" ได้รับการยอมรับให้ใช้เป็นเพลงชาติอินเดียอย่างเป็นทางการโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1950[6][7][8][9][10][11][12]บทกวีต้นฉบับของรพินทรนาถ ฐากุร ได้ถูกแปลออกเป็นภาษาฮินดูสตานี (ฮินดี-อูร์ดู) โดย อะบิด อะลี บทเพลงต้นฉบับภาษาฮินดีของเพลงชนะ คณะ มนะ ซึ่งแปลโดยอะลี และอิงจากบทกวีของฐากุรนั้น มีความแตกต่างจากต้นฉบับเดิมอยู่บ้าง โดยเนื้อเพลงขึ้นต้นว่า "ศุภ สุข ไจน กี พรขา พรเส, ภารต ภาค ไห ชาคา..."การบรรเลงเพลงชาติอินเดียเต็มเพลงอย่างเป็นทางการใช้เวลา 52 วินาที ส่วนการบรรเลงแบบสังเขปในบางโอกาส ใช้เวลาบรรเลง 20 วินาที โดยตัดเอาโน้ตท่อนแรกและท่อนสุดท้ายมาบรรเลง[6] รพินทรนาถ ฐากุรได้เขียนบทแปลภาษาอังกฤษของเพลงนี้ด้วยตนเอง[13] โดยมีมากาเร็ต เคาซินส์ (ภรรยาของ เจมส์ เฮนรี เคาซินส์ กวีชาวไอริช ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญดนตรีแบบยุโรป) ช่วยวางบทเพลงลงเป็นโน้ตดนตรีสากล ที่เมืองมฑนปัลเล รัฐอานธรประเทศ[14] ซึ่งต้องร้องอย่างช้าๆ ตามต้นฉบับเท่านั้นจึงจะถูกต้องต้องนามโน้ตเพลงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขับร้องบทเพลงในฉบับที่เป็นเพลงชาติ มักจะบรรเลงโดยโน้ตเพลงที่ปรับใช้สำหรับวงออร์เคสตร้าและการขับร้องประสานเสียงโดยเฮอร์เบิร์ต เมอร์ริล นักประพันธ์ดนตรีชาวอังกฤษ ซึ่งดำเนินการภายใต้คำขอของชวาหระลาล เนห์รูบทเพลงอีกบทหนึ่งของฐากุร คือ อามาร์ โชนาร์ บังกลา ซึ่งเป็นบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นก่อนหน้าเพลงชนะ คณะ มนะ ต่อมาได้รับเลือกให้ใช้เป็นเพลงชาติบังกลาเทศในปี ค.ศ. 1972

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชนะ คณะ มนะ http://ramanraj.blogspot.com/2007/08/morning-song-... http://video.google.com/videoplay?docid=7399792002... http://www.hindu.com/mag/2006/03/19/stories/200603... http://www.rediff.com/news/apr/26anthem.htm http://www.rediff.com/news/feb/22anthem.htm http://www.sanyal.com/india/janagana.html http://satyashodh.com/janaganaman/ http://www.tribuneindia.com/2002/20020504/windows/... http://india.gov.in/knowindia/national_anthem.php http://knowindia.gov.in/knowindia/national_symbols...